top of page

การจัดการความรู้ Knowledge Management

ความหมายของความรู้

 
ความรู้ (Knowledge) หมายถึง การเรียนรู้ที่เน้นถึงการจำและการระลึกได้ถึงความคิด วัตถุ และปรากฏการณ์ ซึ่งเป็นความจำที่เริ่มจากสิ่งที่ง่าย ที่เป็นอิสระแก่กัน ไปจนถึงความจำในสิ่งที่ซับซ้อนและมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน http://en.wikipedia.org/wiki/Knowledge

 
ความหมายของ KM

 
นพ.วิจารณ์ พานิช ได้ให้ความหมายของคำว่า “การจัดการความรู้” ไว้ว่าสำหรับนักปฏิบัติ การจัดการความรู้ คือ เครื่องมือ เพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ 1) บรรลุเป้าหมายของงาน 2) บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน 3) บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้ และ 4) บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน

 

กระบวนการจัดการความรู้

+ สิ่งที่กำหนดก่อนเริ่ม คือ เป้าหมายเคเอ็ม และหน่วยที่วัดผลได้เป็นรูปธรรม 
+ สิ่งที่มีในแต่ละกิจกรรม คือ ตัวบ่งชี้ของกิจกรรม และเป้าหมายของกิจกรรม

 

แบบที่ 1 ตามแนว กพร. 


กระบวนการจัดการความรู้มี 7 กิจกรรม ดังนี้ 1) การบ่งชี้ความรู้ คือ การระบุประเด็นความรู้ รูปแบบ และผู้รู้ที่สอดรับกับนโยบาย ขอบเขตและเป้าหมายขององค์กร 2) การสร้างและแสวงหาความรู้ คือ การรวบรวมความรู้ใหม่ รักษาความรู้เดิม และกรองความรู้ที่ไม่ใช้ออกจากแหล่งรวบรวม 3) การจัดความรู้ให้เป็นระบบ คือ การวิเคราะห์และคัดแยกความรู้เป็นกลุ่มประเด็นให้ง่ายต่อการเข้าถึงอย่างมีขั้นตอน 4) การประมวลและกลั่นกรองความรู้ คือ การปรับปรุงให้ความรู้มีรูปแบบมาตรฐาน ไม่ซ้ำซ้อน มีความสมบูรณ์ มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือ 5) การเข้าถึงความรู้ คือ การสร้างแหล่งเผยแพร่ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา 6) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ คือ การนำความรู้เข้าสู่เวทีแลกเปลี่ยนที่มีฐานความรู้หรือฐานข้อมูลรองรับให้ง่ายต่อการเข้าถึงและสืบค้น 7) การเรียนรู้ คือ การใช้ความรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เป็นวงจรความรู้ที่มีการเรียนรู้และพัฒนาให้เกิดประสบการณ์ใหม่อยู่เสมอ # #

 

แบบที่ 2 ตามแนว ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช 


กระบวนการจัดการความรู้มี 6 กิจกรรม ดังนี้ 1) การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นต่องานหรือกิจกรรมขององค์กร 2) การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ 3) การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้บางส่วน ให้เหมาะต่อการใช้งาน 4) การประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจการงานของตน 5) การนำประสบการณ์จากการใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาบันทึกไว้ 6) การจดบันทึก ขุมความรู้ แก่นความรู้ สำหรับไว้ใช้งาน

 

แบบที่ 3 ตามแนว ดร.ณพศิษฏ์ จักรพิทักษ์ 


กระบวนการจัดการความรู้มี 6 กิจกรรม ดังนี้

1) การตรวจสอบและระบุหัวข้อความรู้

2) การสร้างกรอบแนวคิดในการบริหาร

3) การวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้

4) การสร้างระบบสารสนเทศในการจัดการความรู้

5) การจัดกิจกรรมในการจัดการความรู้

6) การวัดประเมินผลการจัดการความรู้

 

(ลำดับ) นั้นสำคัญไฉน 
เคยเห็นนักเขียนหลายท่านใส่ (ลำดับ) ต่อชื่อบันทึก เคยสงสัยว่าเขาใส่ไปทำไม ก็มาเข้าใจกับตัวเองหลังเขียนไปได้ประมาณ 20 บันทึก ในระบบบล็อกที่สร้างใช้เอง เพราะการเขียนบันทึกที่แยกตามกลุ่ม (Categories) ถ้าเป็นของgotoknow.org ก็จะเรียกว่า blog การมี (ลำดับ) ก็เพื่อใช้อ้างอิง มีภาคต่อ สร้างกลุ่มย่อยผ่านชื่อบันทึก และทราบได้ทันทีว่ากลุ่มใดเขียนไปกี่เรื่อง และมีกลุ่มใดที่ยังทำหน้าที่บกพร่องไปบ้าง 

 

ที่มา http://www.thaiall.com/km/indexo.html

 

 

Flipped Classroom : การเรียนรู้แนวใหม่สำหรับศตวรรษที่ 21
bottom of page