top of page

ASEAN CITATION INDEX (ACI)

ASEAN Citation Index (ACI) เป็นหัวข้อหนึ่งในการประชุมเครือข่ายห้องสมุดในกลุ่มเอเชียแปซิฟิกของ OCLC ครั้งที่ 6 นำเสนอโดย ศ.ดร. ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ หัวหน้าศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยและศาสตราจารย์ประจำคณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มีเนื้อหาโดยสรุปดังนี้

 

ความเป็นมาของ ACI

 

จากความสำเร็จของฐานข้อมูล TCI ในการจัดเก็บและสืบค้นข้อมูลวารสารวิชาการไทย ซึ่งพัฒนาโดยศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index Centre) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ศูนย์ TCI ส่งผลให้เกิดการขยายการดำเนินงานเกี่ยวกับวารสารวิชาการไปสู่ภูมิภาคอาเซียน โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ให้การสนับสนุนศูนย์ TCI ในการพัฒนาฐานข้อมูลภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Citation Index – ACI) เพื่อเป็นฐานข้อมูลกลางสำหรับรวบรวมผลงานการตีพิมพ์และการอ้างอิงจากวารสารของประเทศสมาชิกอาเซียนร่วมกัน โดยประเทศสมาชิกอาเซียนจัดตั้งฐานข้อมูลบทความและการอ้างอิงวารสารระดับประเทศ (National Citation Index – NCI) ของตนเองขึ้น จากนั้นจึงเชื่อมโยงข้อมูลจาก NCI ของแต่ละประเทศเข้ากับฐานข้อมูล ACI

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ภาพแสดงการเชื่อมโยงของฐานข้อมูล NCI กับ ACI

 

 

เมื่อ ACI มีความพร้อมหรือมีจำนวนวารสารที่มีคุณภาพมากขึ้น ก็จะสามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับฐานข้อมูลระดับนานาชาติได้ เช่น SCOPUS ISI PubMed เป็นต้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ภาพแสดงการเชื่อมโยงของฐานข้อมูล NCI, ACI และฐานข้อมูลระดับนานาชาติ

 

ขณะนี้โครงสร้างของฐานข้อมูล ACI เสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยมีสมาชิกอาเซียน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์เข้าร่วมด้วย และได้มีการจัดประชุม ACI ครั้งที่ 1 ขึ้น ซึ่งมีการวางหลักเกณฑ์ในการเลือกวารสารที่จะเข้ามาอยู่ใน ACI


นอกจากนี้ยังมีภารกิจที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการ คือ การอนุมัติและแต่งตั้งคณะกรรมการ ACI การเขียนโครงการเสนอไปยังกองทุนอาเซียนเพื่อขอรับการสนับสนุน และแสวงหาความร่วมมือในการพัฒนาฐานข้อมูล ACI ซึ่งได้รับการตอบรับจาก Scopus และ Thomson Reuters แล้ว

 

ประโยชน์ของ ACI

  • ประเทศสมาชิกอาเซียนมีฐานข้อมูลวารสารร่วมกัน

  • เพิ่มการมองเห็น (Visibility) ผลงานของนักวิจัยในภูมิภาคอาเซียน

  • มีข้อมูลสำหรับใช้ประเมินคุณภาพงานวิจัย

  • ช่วยในการจัดอันดับผลการดำเนินงานของหน่วยงานในภูมิภาคอาเซียน

  • ช่วยในการตัดสินใจของนักเรียน เพื่อเลือกมหาวิทยาลัยในภูมิภาคอาเซียนที่จะเข้าศึกษาต่อ

  • รวบรวมการประเมินคุณภาพงานวิจัย ทั้งในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ

 

เกณฑ์การคัดเลือกวารสารเข้าสู่ ACI

  • วารสารควรมีการควบคุมคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ (peer reiew)

  • วารสารควรออกตรงตามเวลาที่กำหนด

  • ชื่อบทความ ชื่อผู้แต่ง ชื่อหน่วยงาน และบทคัดย่อ ควรมีภาษาอังกฤษประกอบ

  • รายการอ้างอิงควรมีตัวอักษรโรมัน

 

เกณฑ์การประเมินคุณภาพวารสารใน ACI

  • บทความจะต้องมีการควบคุมคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ (peer reiew)

  • วารสารออกตรงตามเวลาที่กำหนด

  • วารสารมีอายุการตีพิมพ์ไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือตีพิมพ์มากกว่า 6 ฉบับ

  • วารสารมีการอ้างอิงในฐานข้อมูล TCI หรือฐานข้อมูลนานาชาติอื่น ๆ

  • วารสารตีพิมพ์บทความที่มีผู้เขียนมาจากหลากหลายหน่วยงาน

  • วารสารมีกองบรรณาธิการที่มาจากหลากหลายหน่วยงาน

  • วารสารมีรูปแบบและนโยบายการตีพิมพ์ที่ชัดเจน

  • วารสารมีการตีพิมพ์รูปแบบเดียวกัน เช่น การอ้างอิง ภาพประกอบ ตาราง เป็นต้น

  • วารสารมีเว็บไซต์หรือมีการเผยแพร่แบบออนไลน์

 

รายการอ้างอิง:

TCI กับการพัฒนาคุณภาพผลงานวิชาการของไทย. (2555). ค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2557, จาก http://www.trf.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1057%3Atci&catid=22&Itemid=217

Sombatsompop, N. (2014). ASEAN Citation Index (ACI). (Slide).

 

ที่มาจาก http://main.library.tu.ac.th/km/?p=933

 

 

bottom of page