แผนบริหารการสอน (Course Syllabus)
1. รหัสวิชา : GE40002
2. ชื่อวิชา : วิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิต
3. ชื่อวิชา : Science for Quality of Life
4. จำนวนหน่วยกิต : 2 (1-2-3)
5. อาจารย์ผู้สอน :
(1) อาจารย์เอกชัย จารุเนตรวิลาส
(2) ผศ.วรวัฒน์ ทิพจ้อย
(3) อาจารย์ณรงค์ ขันดีศรีไพบูลย์
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษา วิเคราะห์ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ กระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ การแก้ปัญหาโดยใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์ ทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เจตคติทางวิทยาศาสตร์ มีจิตวิทยาศาสตร์ นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ และสร้างเสริมสุขภาวะแบบองค์รวม เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดำรงอยู่อย่างเป็นสุข
วัตถุประสงค์รายวิชา
1. อธิบายกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และนำมาแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้
2. ตระหนักถึงความเจริญก้าวหน้าและผลกระทบของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3. มีเจตคติทางวิทยาศาสตร์ และสามารถนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างเหมาะสม
เนื้อหารายวิชา
บทที่ 1 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับคุณภาพชีวิต (จำนวน 10.5 ชั่วโมง)
บทที่ 2 สุขภาพส่วนบุคคลและชุมชน (จำนวน 10.5 ชั่วโมง)
บทที่ 3 การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายและนันทนาการ (จำนวน 6 ชั่วโมง)
บทที่ 4 พลังงานกับชีวิต (จำนวน 9 ชั่วโมง)
บทที่ 5 ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีต่อคุณภาพชีวิต (จำนวน 9 ชั่วโมง)
กิจกรรมการเรียนการสอน
1. การบรรยายเนื้อหาประกอบสื่อต่างๆ เช่น เพาเวอร์พอย วีดีทัศน์ แผ่นภาพ
-
อภิปรายในชั้นเรียน ศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง
-
กิจกรรมประกอบหน่วยการเรียนตามที่ได้รับมอบหมาย เช่น วิเคราะห์สถานการณ์ / กรณีศึกษา และจัด นิทรรศการเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
-
-
มีการบรรยายสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม เจตคติทางวิทยาศาสตร์
สื่อการเรียนการสอน
-
เอกสารประกอบการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิต
2.แบบฝึกหัดเสริมทักษะ
3.บทความ วารสาร หนังสือพิมพ์ต่างๆ
การวัดและการประเมินผล
@ ระหว่างภาค 60 คะแนน
-
ความสนใจและพฤติกรรมในชั้นเรียน 10 คะแนน
-
การนำเสนอและรายงานการศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง 10 คะแนน
-
การทดสอบ/กิจกรรม, ใบงานแต่ละบท 15 คะแนน
-
แบบฝึกหัดเสริมทักษะ 10 คะแนน
-
สอบกลางภาค 15 คะแนน
@ ปลายภาค 40 คะแนน
-
สอบปลายภาค 40 คะแนน
รวม 100 คะแนน
เอกสารค้นคว้าเพิ่มเติม
กรมพลศึกษา. (2539). การทดสอบประเมินผลสมรรถภาพทางกาย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา กรมการศาสนา.
คณาจารย์โปรแกรมวิชาสุขศึกษา. (2541). วิทยาศาสตร์เพื่อสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : แสงสว่างการพิมพ์.
พวงทอง เพชรโทน. (2555). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2559 จาก http://www.udru.ac.th/ebookudru/poungthong/
ภพ เลาหไพบูลย์. (2540). แนวทางการสอนวิทยาศาสตร์ ระดับอุดมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
วรวัฒน์ ทิพจ้อย. (2557). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2559 จาก http://www.udru.ac.th/ebookudru/worawat/
หมวดการศึกษาทั่วไป. (2554). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 2. มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี.
สุนันท์ บุราณรมย์. (2542). วิทยาศาสตร์เพื่อสุขภาพ. โครงการพัฒนาสื่อการศึกษาเพื่อส่วเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษา. กรุงเทพฯ : เธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น.
ศิริรัตน์ หิรัญรัตน์. (2539). สมรรถภาพทางกายและทางกีฬา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กีฬาเวชศาสตร์
คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล.
เอกชัย จารุเนตรวิลาส. (2556). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2559 จาก http://www.udru.ac.th/ebookudru/akechai/
Bennett, N. (1975). “Population growth, individual demographic and quality of life.” In A Source book on Population Education.
Brandwien, Pual R. (1975). Concept in Science. Harcourt Brace Javonovich. New York